เทศบาลไชยปราการเดิมประกาศเป็นสุขาภิบาล ไชยปราการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2542 และเทศบาลตำบลไชยปราการ ได้รับการปรับชั้น เทศบาลเป็นชั้น 6 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2542 และยกฐานะเป็นเทศบาลขนาดกลาง จนถึงปัจจุบัน

       หลังจากได้มีพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหาร ราชการอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476 มีพื้นที่การปกครอง 5.85 ตร.กม. ต่อมาได้ประกาศเปลี่ยนแปลง ขยาบเขต เทศบาลตามประกาศพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2512 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 86 ตอนที่ 117 ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2512 ขยายเขตจากเดิม 5.85 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นเป็น 18.26 ตร.กม.

ปัจจุบัน

เทศบาลตำบลไชยปราการ ได้ย้ายมา สำนักงานแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ตั้งอยู่เลขที่ 702 ม.2 ต.ปงตำ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ มีเนื้อที่ 31 ไร่ 3 งาน 25 ตารางวา (ที่มา ข้อมูล: งานพัสดุ กองคลัง) ซึ่งเป็นสำนักงานราชการ ที่กว้างใหญ่ ภายในสำนักงานยังมีอาคารป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย, โรงเรียนเทศบาล 1 เทศบาล ตำบลไชยปราการ, อาคารอเนกประสงค์ชั้นลอย และ สนามฟุตบอล 7 คน ฯลฯ เป็นต้น

ดวงตราสัญลักษณ์ของ
เทศบาลตำบลไชยปราการ

 
  1. เป็นวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 เซนติเมตร
  2. วงกลมข้างนอกเขียนว่า “เทศบาลตำบลไชยปราการ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่”
  3. วงกลมวงใน
    3.1. มีรูปภูเขา หมายถึง ดอยเวียงผา
    3.2. มีรูปกำแพงเมือง หมายถึง กำแพงเมืองเวียงไชยปราการ

ดอกไม้ประจำเทศบาล

 

ดอกเอื้องคำ เป็นดอกไม้ประจำของเทศบาลตำบลไชยปราการ
เอื้องคำ เอื้องผึ้ง ดอกเอื้องงามปี๋ใหม่เมือง

สามารถอ่านบทความและความหมายของ ดอกเอื้องคำได้ ที่นี่

คำขวัญของเทศบาลตำบลไชยปราการ

 

บริการเป็นเลิศ   เชิดชูวัฒนธรรม
เน้นนำการศึกษา    บูชาพระเจ้าพรหม
รื่นรมย์เมืองคาร์บอนต่ำ

ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558

อธิบายคำขวัญ

  • บริการเป็นเลิศ 

           หมายถึง เทศบาลตำบลไชยปราการเน้นการบริการให้กับประชาชนทุกระดับที่เข้ามาใช้บริการกับเทศบาลฯ  อย่างเท่าเทียมกันและรวดเร็ว  ภายใต้อำนาจหน้าที่การให้บริการของเทศบาลฯ ให้กับประชาชน

  • ชิดชูวัฒนธรรม 

          หมายถึง เทศบาลตำบลไชยปราการเป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการสืบสานประเพณี,  จารีตประเพณีในท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่ดีงามที่มีอยู่ในท้องถิ่น  ให้คงสืบไป

  • เน้นนำการศึกษา 

          หมายถึง เทศบาลตำบลไชยปราการเป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา ทุกระดับในพื้นที่  เช่น การจัดตั้งโรงเรียนเทศบาล 1 ไชยปราการ สังกัดเทศบาลตำบลไชยปราการ  การส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนในเขตเทศบาลฯ สนับสนุน การอบรม การศึกษาดูงาน ของแต่ละกลุ่ม เช่น อสม. กรรมการหมู่บ้าน  กลุ่มสตรีแม่บ้าน  ผู้สูงอายุ  และยังส่งเสริมให้บุคลากรของเทศบาลตำบลไชยปราการให้ได้รับการอบรม ศึกษาตามหลักสูตรต่างๆ  นอกจากนี้ยังมีนโยบายที่จะจัดตั้งโรงเรียน อสม. โรงเรียนผู้สูงอายุ และจะจัดตั้งศูนย์ ICT ชุมชน ในอนาคต

  • บูชาพระเจ้าพรหม 

          หมายถึง เทศบาลตำบลไชยปราการเป็นหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอไชยปราการ  ที่มีประวัติมายาวนาน  ผู้ที่ตั้ง “เวียงไชยปราการ” สมัยโยนก-ล้านนา คือ พระเจ้าพรหมกุมาร หรือ พระเจ้าพรหมมหาราช ปัจจุบันได้ประดิษฐานของอนุสาวรีย์ของพระเจ้าพรหมมหาราชผู้สร้างนครไชยปราการ ณ วัดพระเจ้าพรหมมหาราช บ้านป่าแดง หมู่ที่ 9 ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนั้นยังมีศิลปะการก่อสร้างที่เก่าแก่สวยงามเป็นศิลปกรรมแบบล้านนา เป็นที่ มีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมและสักการะอนุสาวรีย์ของพระเจ้าพรหมมหาราชอยู่ เป็นประจำ (สามารถอ่านประวัติพระเจ้าพรหมมหาราช ฉบับย่อ ได้ตามเอกสารแนบท้ายนี้) 

  • รื่นรมย์เมืองคาร์บอนต่ำ 

          หมายถึง เป็นศูนย์การเรียนรู้ของเทศบาลตำบลไชยปราการ ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ เมืองแห่งต้นไม้, เมืองไร้มลพิษ, เมืองพิชิตพลังงาน และเมืองที่มีการบริโภคอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน  เมืองคาร์บอนต่ำ

วิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น (VISION)

ไชยปราการเมืองน่าอยู่
อนุรักษ์เชิดชูประเพณีวัฒนธรรม
เกษตรกรรมนำเศรษฐกิจ
มีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกชุมชน

วิสัยทัศน์ เมื่อปี พ.ศ.2565

พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น (MISSION)

1.พันธกิจด้านโครงสร้างพื้นฐาน/เศรษฐกิจ

           เป็นเมืองที่มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่สนองตอบต่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนทั้งใน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

2. พัฒนธกิจด้านการศึกษา/ศาสนา และวัฒนธรรม 

           เป็นท้องถิ่นที่มีการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และนันทนาการ มีการใช้ ศักยภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดการพัฒนาในด้านการศึกษา อบรมทั้งในและนอกระบบ กิจกรรมทาง ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นได้รับการสืบสาน โดยมีองค์กรชุมชน/หมู่บ้าน เป็นแกนนำในการพัฒนา

3. พันธกิจด้านสุขภาพอนามัยและบริการสาธารณสุข 

           มีระบบบริการสุขภาพอนามัยขั้นพื้นฐาน ที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต การมีสุขภาพดี มีสภาพ แวดล้อมที่ดี โดยเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชนประชาชน ให้มีส่วนร่วมในการรักษาอนามัยชุมชน และเมืองน่าอยู่ ลดปัญหายาเสพติด มีสวัสดิการด้านสุขภาพอนามัยให้แก่ประชาชน

4. พันธกิจด้านการเมืองการปกครอง 

           มีการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมืองการบริหารท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ วางแผนและร่วมดูแลรักษาทรัพย์สินสมบัติท้องถิ่น มีการสนับสนุนระบบการปกครอง และวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยในทุกระดับ

5. พันธกิจด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

           มีการอนุรักษ์และปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมมีการจัดการด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม

ข้อมูลประชากร

          ข้อมูลจำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลไชยปราการ ณ เดือน กันยายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 15,719 คน แยกเป็น

ชาย

คน
0

หญิง

คน
0

รวมทั้งหมด

คน
0

หมายเหตุ : ข้อมูลจาก งานทะเบียนราษฎร สำนักปลัดเทศบาลตำบลไชยปราการ ณ วันที่ 30 กันยายน 2564